วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิด

การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิด
สัตว์แต่ละชนิดมีการนำสารอาหารเข้าสู่ร่างกายและย่อยอาหารอย่างไร
การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิด
สัตว์บางชนิด เช่น ฟองน้ำไม่มีระบบทางเดินอาหาร แต่จะมีเซลล์พิเศษทำหน้าที่จับอาหารเข้าสู่เซลล์แล้วทำการย่อยภายในเซลล์สัตว์บางชนิดมีระบบทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ เนื่องจากมีช่องเปิดทางเดียว เช่น ไฮดรา พลานาเรีย
สัตว์บางชนิดเช่น ไส้เดือนดิน แมลงและสัตว์มีกระดูกสันหลังมีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์ คือมีปากและทวารหนัก ระบบทางเดินอาหารของสัตว์เหล่านี้จะมีโครงสร้างรายละเอียดบางอย่างแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและพฤติกรรมการกิน
1. การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดที่ไม่มีกระดูกสันหลัง
1.1 การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดที่ไม่มีทางเดินอาหาร
ฟองน้ำ (Sponge) เป็นสัตว์ในไฟลัมพอริเฟอรา ไม่มีปากและทวารหนักที่แท้จริง ทางเดินอาหารเป็นแบบร่างแห (Channel network) ซึ่งไม่ใช่ทางเดินอาหารที่แท้จริง เป็นเพียงรูเปิดเล็กๆ ข้างลำตัว เรียกว่า ออสเทีย (Ostia) ทำหน้าที่เป็นทางน้ำไหลเข้าสู่ลำตัวฟองน้ำเป็นการนำอาหารเข้าสู่ลำตัว ส่วนรูเปิดด้านบนลำตัว เรียกว่า ออสคิวลัม (Osculum) ทำหน้าที่เป็นทางน้ำออก ผนังด้านในมีเซลล์พิเศษ เรียกว่า เซลล์โคแอนโนไซต์ (Choanocyte) โบกพัดเซลล์อยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดการไหลเวียนของอาหาร ตัวเซลล์โคแอนโนไซต์นำอาหารเข้าสู่เซลล์โดยฟาโกไซโทซีส (Phagocytosis)เกิดเป็นฟูดแวคิวโอลและมีการย่อยอาหารภายในฟูดแวคิวโอลนอกจากนี้ยังพบเซลล์ บริเวณใกล้กับเซลล์โคแอโนไซต์มีลักษณะคล้ายอะมีบา เรียกว่า อะมีโบไซต์ (Amoebocyte) สามารถนำสารอินทรีย์ขนาดเล็กเข้าสู่เซลล์และย่อยอาหารภายในเซลล์แล้วส่งอาหารที่ย่อยแล้วไปยังเซลล์อื่นได้



ภาพที่ 2.1 แสดงโครงสร้างภายในของฟอง1.2 การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดที่มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ (Incomplete digestive tract)
เป็นทางเดินอาหารที่มีทางเปิดทางเดียว คือ มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก ปากทำหน้าที่เป็นทางเข้าของอาหารและทางออกของกากอาหาร ระบบทางเดินอาหารยังไม่พัฒนามากนัก
ไฮดรา เป็นสัตว์ในไฟลัม
ไนดาเรีย มีทางเดินอาหารเป็นแบบปากถุง (One hole sac) ไฮดราใช้อวัยวะคล้ายหนวด เรียกว่าหนวดจับ (Tentacle) ซึ่งมีอยู่รอบปาก อาหารของไฮดราคือ ตัวอ่อนของกุ้ง ปู และไรน้ำเล็กๆ และใช้เซลล์ที่มีเนมาโทซิสต์ (Nematocyst) หรือเข็มพิษที่อยู่ที่ปลายหนวดจับในการล่าเหยื่อ ต่อจากนั้นจึงส่งเหยื่อเข้าปาก ทางเดินอาหารของไฮดราอยู่กลางลำตัวเป็นท่อกลวงเรียกว่า ช่องแกสโตรวาสคิวลาร์ (Gastrovascular cavity) ซึ่งบุด้วยเซลล์ทรงสูง เรียกว่าชั้นแกสโตรโดรมิส (Gastrodermis) เป็นเยื่อชั้นในบุช่องว่างของลำตัวซึ่งประกอบด้วย
1. นิวทริทิพ เซลล์ (Nutritive cell) บางเซลล์มีแซ่ 2 เส้น เรียกว่า แฟลเจลเลตเซลล์ (Flagellate cell) บางเซลล์คล้ายอะมีบา เรียกว่าอะมีบอยด์เซลล์ (Amoebiol cell) ทำหน้าที่ยื่นเท้าเทียมออกมาล้อมจับอาหาร ส่วนแฟลเจลเลตเซลล์ มีหน้าที่โบกพัดให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำภายในช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ และโบกพัดให้กากอาหารเคลื่อนที่ออกทางปากต่อไป
2. เซลล์ต่อมหรือเซลล์ย่อยอาหาร (Gland cell or digestive cell) เป็นเซลล์ที่สร้างน้ำย่อยและปล่อยออกมา ซึ่งการย่อยอาหารโดยเซลล์ต่อม จัดเป็นการย่อยอาหารแบบนอกเซลล์ ส่วนการย่อยโดยอะมีบอยด์เซลล์จัดเป็นการย่อยอาหารแบบภายในเซลล์
น้ำ เซลล์โคแอโนไซด์ในการจับ








ภาพที่ 2.2 แสดงช่องว่างกลางลำตัวของไฮดรา(Gastrovascular cavity) เซลล์จับอาหารกิน



หนอนตัวแบน เป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัมแพลทีเฮลมินทิส (Platyhelminthes) ได้แก่
พลานาเรีย พยาธิใบไม้ และพยาธิตัวตืด
1. พลานาเรีย ทางเดินอาหารของพลานาเรียเป็นแบบ 3 แฉก แต่ละแฉกจะมีแขนงของทางเดินอาหารแตกแขนงย่อยออกไปอีกเรียกว่า ไดเวอร์ทิคิวลัม (Diverticulum) ปากอยู่บริเวณกลางลำตัว ต่อจากปากเป็นคอหอย (Pharynx) มีลักษณะคล้ายงวงยาวหรือโพเบอซิส (Probosis) มีกล้ามเนื้อแข็งแรง มีหน้าที่จับอาหารเข้าสู่ปาก กากอาหารที่เหลือจากการย่อยและดูดซึมแล้วจะถูกขับออกทางช่องปากเช่นเดิม การย่อยอาหารของพลานาเรียเป็นการย่อยภายนอกเซลล์ นอกจากนี้เซลล์บุผนังช่องทางเดินอาหารยังสามารถฟาโกไซโทซิสจับอาหารเข้ามาย่อยภายในเซลล์ได้ด้วย







ภาพที่ 2.3 ภาพซ้ายแสดงคอหอยที่ใช้จับอาหารและปาก และภาพขวาแสดงทางเดินอาหารของพลานาเรีย




2. พยาธิใบไม้ มีทางเดินอาหารคล้ายพลานาเรีย แต่ทางเดินอาหารส่วนลำไส้ไม่แตกกิ่งก้านสาขา มีลักษณะคล้ายอักษรรูปตัววาย (Y–shape) ทางเดินอาหารของพยาธิใบไม้ประกอบด้วยปากปุ่มดูด (Oral sucker) ที่มีปากดูดกินอาหารจากโฮสต์ ต่อจากปากเป็นคอหอย (Pharynx) ต่อจากคอหอยเป็นหลอดอาหารสั้น ๆซึ่งจะต่อกับลำไส้ (Intestine)


















ภาพที่ 2.4 แสดงทางเดินอาหารของพยาธิใบไม้และอวัยวะภายในบางชนิด



3. พยาธิตัวตืด ไม่มีระบบทางเดินอาหาร เพราะอาหารที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายส่วนใหญ่ถูกแปรสภาพเรียบร้อยแล้วโดยผู้ถูกอาศัย ใช้กระบวนการแพร่ของสารอาหารที่ย่อยแล้วเข้าสู่ร่างกาย





ภาพที่ 2.5 ลักษณะของพยาธิตัวตืด








ภาพที่ 2.6 ภาพตัวโตเต็มวัยของพยาธิตัวตื1.3 การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ (Complete digestive tract)
1.3 หนอนตัวกลม เป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัมเนมาโทดา (Nematoda) มีทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง หรือท่อกลวง (Two hole tube) มีคอหอยเป็นกล้ามเนื้อหนาช่วยในการดูดอาหาร มีลำไส้ยาวตลอดลำตัว อาหารที่หนอนตัวกลมกินเข้าไปจะถูกย่อยและดูดซึมโดยลำไส้
ดที่เน้นให้เห็นส่วนหัว โดยเฉพาะส่วนที่ใช้เกาะดูด (Sucker)


ทางเดินอาหารของหนอนตัวกลมเรียงตามลำดับต่อไปนี้


ปาก คอหอย ลำไส้เล็ก ไส้ตรง ทวารหนัก


ภาพที่ 2.7 แสดงทางเดินอาหารของหนอนตัวกลม มีปากและทาวารหนัก




ไส้เดือนดิน เป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัมแอนนิลิดา มีระบบทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง (Two hole tube) ทางเดินอาหารของไส้เดือนดินประกอบด้วยปาก ซึ่งเป็นรูเปิดทางด้านหน้าของปล้องที่หนึ่ง ต่อจากปากก็จะเป็นช่องปาก (Buccal cavity) คอหอยมีกล้ามเนื้อหนาช่วยในการฮุบกิน มีกระเพาะพักอาหารและมีกึ๋นช่วยในการบดอาหาร ลำไส้สร้างน้ำย่อยปล่อยออกมาย่อยอาหาร สารอาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบเลือด เพื่อลำเลียงไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายส่วนสารที่ย่อยไม่ได้ก็จะถูกขับออกทางช่องทวารหนักที่อยู่ทางส่วนท้ายของลำตัวเป็นกากอาหาร

ทางเดินอาหารของไส้เดือนดินเรียงตามลำดับต่อไปนี้


ปาก หลอดอาหาร กระเพาะพักอาหาร กึ๋น ลำไส้ ทวารหนัก คอหอย







ภาพที่ 2.8 แสดงส่วนประกอบของทางเดินอาหารของไส้เดือนดิน


แมลง เป็นสัตว์ในกลุ่มขาปล้องจัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทโพดา ทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง (Two hole tube) ปากของแมลงมีการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างออกไป ให้มีความเหมาะสมกับสภาพของอาหารที่แมลงแต่ละชนิดกิน แต่แมลงมีลักษณะพื้นฐานของทางเดินอาหารที่เหมือนกัน คือ ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะพักอาหารขนาดใหญ่ อยู่บริเวณทรวงอก และกระเพาะบดอาหาร(Gizzard) ช่วยในการกรองและบดอาหาร มีต่อมสร้างน้ำย่อย (Digestive gland) มีลักษณะคล้ายนิ้วมือ 8 อัน ยื่นออกมาจากทางเดินอาหารระหว่างกึ๋นและกระเพาะอาหาร
ทางเดินอาหารของแมลงเรียงตามลำดับได้ดังนี้


ปาก กระเพาะพักอาหาร กึ๋น ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ทวารหนัก





. การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดที่มีกระดูกสันหลัง
2.1 การย่อยอาหารของปลา ปลาเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา(Chordata) ปลามีทั้งปลาปากกลมซึ่งเป็นปลาที่ไม่มีขากรรไกรขอบของปากและลิ้นมีฟันใช้ขูดเนื้อและดูดกินเลือดสัตว์อื่น ปลาฉลามมีปากอยู่ทางด้านล่างและมีฟันจำนวนมาก ฉลามมีลำไส้สั้นและภายในมีลิ้นซึ่งมีลักษณะเหมือนบันไดเวียน (Spiral valve) ช่วยในการถ่วงเวลาไม่ให้อาหารเคลื่อนตัวไปเร็ว และพวกปลากระดูกแข็งมีปากซึ่งภายในมีฟันรูปกรวย มีลิ้นขนาดเล็กยื่นออกมาจากปากทำหน้าที่รับสัมผัส พวกปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาน้ำดอกไม้ ปลาพวกนี้จะมีลำไส้สั้น ส่วนปลากินพืช เช่น ปลาทู ปลาสลิด จะมีลำไส้ยาว

ทางเดินอาหารของปลาเรียงตามลำดับต่อไปนี้

ปาก → คอหอย → หลอดอาหาร → กระเพาะอาหาร → ลำไส้ → ทวารหนัก

ภาพที่ 2.12 ภาพแสดงทางเดินอาหารของปลา

ภาพที่ 2.13 แสดงลิ้นซึ่งมีลักษณะเหมือนบันไดเวียน (Spiral valve) ของปลาฉลาม
2.2 การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดปีก ได้แก่ นก เป็ด ไก่ ซึ่งเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังจัดอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา(Chordata) ทางเดินอาหารประกอบด้วยปากซึ่งไม่มีฟัน ต่อมน้ำลายเจริญไม่ดี แต่สร้างเมือกสำหรับคลุกเคล้าอาหารและหล่อลื่นได้ มีคอหอยสั้น หลอดอาหารยาว มีถุงพักอาหาร(Crop) ซึ่งทำหน้าที่เก็บอาหารสำรองไว้ย่อยภายหลัง กระเพาะอาหารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ กระเพาะตอนหน้าหรือกระเพาะย่อย (Proventriculus) ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อย และกระเพาะอาหารตอนท้ายหรือกระเพาะบด (Gizzard) ต่อจากกระเพาะบดเป็นลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ส่วนท้ายเป็นโคลเอกา (Cloaca) ที่มีท่อไตและท่อของระบบสืบพันธุ์มาเปิดเข้าด้วยกัน และทวารหนักซึ่งเป็นส่วนท้ายสุด
ทางเดินอาหารของสัตว์ปีกเรียงตามลำดับต่อไปนี้
ปาก กระเพาะพักอาหาร กึ๋น ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก หลอดอาหาร ลำไส้เล็ก




.3 การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดกินพืช ได้แก่ วัว ควาย จะมีโครงสร้างของทางเดินอาหารแตกต่างจากคนและสัตว์กินเนื้ออื่นๆ อยู่ 2 ประการ คือ
1. การมีทางเดินอาหารที่ยาวมากๆ ยาวถึง 40 เมตร ทำให้ระยะเวลาในการย่อยและการดูดซึมสารอาหารนานยิ่งขึ้น กระเพาะอาหารของวัวและควายแบ่งออกเป็น 4 ส่วน มีชื่อและลักษณะเฉพาะ ได้แก่
1.1 กระเพาะผ้าขี้ริ้วหรือรูเมน (Rumen) เป็นกระเพาะอาหารที่มีจุลินทรีย์ พวก
แบคทีเรียและ โพรโทซัวจำนวนมาก จุลินทรีย์พวกนี้สร้างน้ำย่อยเซลลูเลส ย่อยสลายเซลลูโลสจากพืชที่กินเข้าไปและสามารถสำรอกอาหารออกมาเคี้ยวเอื้องเป็นครั้งคราวเพื่อบดเส้นใยให้ละเอียดจึงเรียกสัตว์พวกนี้ว่าสัตว์เคี้ยวเอื้อง
1.2 กระเพาะรังผึ้งหรือเรติคิวลัม (Reticulum) ทำหน้าที่ย่อยนม เมื่อโค กระบือยัง
เล็กอยู่ และมีจุลินทรีย์เช่นเดียวกับกระเพาะอาหารส่วนรูเมน
1.3 กระเพาะสามสิบกลีบหรือโอมาซัม (Omasum) ทำหน้าที่ผสมและบดอาหาร
นอกจากนี้ยังดูดซึมและซับน้ำจากรูเมนอีกด้วย
1.4 กระเพาะจริงหรืออะโบมาซัม (Abomasum) มีการย่อยอาหารและจุลินทรีย์ไป
พร้อมๆกัน แล้วจึงส่งต่อไปยังลำไส้เล็กเพื่อย่อยให้สมบูรณ์
เมื่ออาหารผ่านเข้าสู่ลำไส้เล็กตอนต้น จะมีการย่อยโปรตีน ไขมันและแป้งจากน้ำย่อยจากตับอ่อนและน้ำดีจากตับ จากนั้นก็ดูดซึมเข้าสู่ระบบหมุนเวียนต่อไป



ภาพที่ 2.16 แสดงทางเดินอาหารของวัว

ภาพที่ 2.17 แสดงกระเพาะอาหารของวัวซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ส่วน Rumen ,Reticulum , Omasum และ Abomasum

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น